วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 14 



วันนี้ ไม่มีการเรียนแล้วคะ แต่อาจรย์ นัดมาเจอกัน ทั้ง 2 กลุ่มเรียน เพื่อบอกแนวข้อสอบ 
และให้รางวัล คนที่มาเรียนครบ และมีดาวเด็กดี
รวมถึงแจกสี ด้วยคะ




บันทึกการเรียน ครั้งที่ 13


เนื้อหาการเรียน

- วันนี้ มี 3 กิจกรรม 
 กิจกรรมแรก จับกลุ่่ม ยืนเป็นวงกลม แล้ว รำวงด้วยกัน 




กิจกรรมที่ 2 แล้วนั่งฟัง อาจารย์บรรยาย เพื่อที่จะทำกิจกรรมต่อไป



กิจกรรม ต่อไปเป็น การแต่งนิทาน 
(นิทาน เพื่อนรัก)




และต่อมา ก็ออกมาแสดงทีละกลุ่ม



นิทานเพื่อนรัก 


และกิจกรรมสุดท้าย ก็คือ จับกลุ่มอีกครั้ง แต่ไม่ใช่กลุ่มเดิม อาจารย์ให้ใช้ร่างกายของเราเป็นเสียงดนตรี



ทุกกลุ่ม สนุกมากคะ หัวเราะกันใหญ่



ประเมินผล

ประเมิน ตัวเอง :  ตัวเองตั้งใจเรียน วันนี้สนุกคะ ให้ความร่วมมือเต็มที่

ประเมิน เพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์ และสนุกมาก

ประเมิน อาจารย์ : อาจารย์ตั้งใจสอน วันนี้อาจารย์หัวเราะกลุ่มหนูด้วย 


 

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 12 

เนื้อหาการเรียนวันนี้อาจารย์ทบทวนความรู้เรื่องของความคิดสร้างสรรค์ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 1 คือ ความหมายและองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ที่บรูณาการวิชาวิทยาศาสตร์ สัปดาห์ที่ 2 คือ ความคิดสร้างสรรค์ที่บรูณาการวิชาคณิตศาสตร์ สัปดาห์ที่ 3 คือ สิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้สัปดาห์ที่ 4 คือ สิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือ


การเคลื่อนไหวและจังหวะที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
1. การเคลื่อนไหวประกอบเพลง เช่น การเต้นแอโรบิค
2. การเคลื่อนไหวตามคำบรรยาย เช่น การสร้างสรรค์ด้วยคำพูดและท่าทาง จากจินตนาการของเด็ก
3. การเคลื่อนไหวตามคำสั่ง เช่น การสร้างสรรค์เรื่องการเปลี่ยนทิศทาง
4. การเคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม เช่น การให้เด็กออกมาเป็นผู้นำแล้วให้เพื่อนทำตาม
5. การเคลื่อนไหวตามความจำ เช่น การสร้างสรรค์ไปตามมุมต่างๆ ตามที่ครูกำหนดให้
6. การเคลื่อนไหวตามข้อตกลงหรือการเคลื่อนไหวแบบพื้นฐาน

                                                                             ดังรูป





การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
1.สามรถ นำไปบูรณาการได้หลายวิชา และสารถใช้ในการเก็บเด็กได้ หากเด็กไม่ฟังเรา

ประเมินผล

ประเมิน ตัวเอง : ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือกับเพื่อนดี่

ประเมิน เพื่อน : เพื่อนน่ารัก และช่วยกันมาก 

ประเมิน อาจารย์ : อาจารย์ตั้งใจสอนมาก และให้คำแนะนำที่ดี










บันทึกการเรียน ครั้งที่ 11


เนื้อหาการเรียนในวันนี้
- วันนี้ ทุกคน ออกมาพรีเซ้นของล่น สร้างสรรค์ของตัวเองคะ   เริ่มจากคนแรกเลย

1. เตาปิ้งพกพา (ฉันเอง)

2. โครมไฟจากช้อน


3.ฝาชี จากขวดน้ำ


4.ลิ้นชัก จากกล่อง

ของเล่นของเพลงทุกคน สร้างสรรค์มากคะ และสวยงามด้วย 

และเมื่อพรีเซ้นของเล่นกันครบแล้ว อาจารย์ก็ให้ทำ นิทาน ตัวเลข 1 - 10 ต่อคะ


ประเมินผล

 ประเมิน ตนเอง : ตั้งใจเรียน แต่ลำๆก็แอบขี้เกียจ เพราะของเล่นของเรา ยังไม่ผ่าน เหลือทำขาตั้ง

ประเมิน เพื่อน :เพื่อนตั้งใจเรียน และ ชอบถามตอบกับอาจารย์

ประเมิน อาจารย์ : อาจารย์ ตลกคะ และตั้งใจสอน วันนี้ปล่อยเร็วด้วย










บันทึกการเรียน ครั้งที่ 10

เนื้อหาการเรียนวันนี้
 -  สาเหตุที่ต้องจัดกิจกรรมบรูณาการ ทั้ง 4 ด้าน เพราะ ต้องดูพัฒนาการเด็กปฐมวัย
 -  ต้นเหตุของเด็กจะมีการเชื่อมโยงกับพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ต้องดูจากพัฒนาการเด็กปฐมวัย
 -  จัดประสลการณ์ ต่างๆ ต้องสอดคล้องกับส่งที่มีอยู่ในชีวิตประจำวันของตัวเด็กปฐมวัย
  1.     สอดคล้องกับพัฒนาการ  ( พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน 
  2.     สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้  ( เด็กลงมือปฏิบัติ )
- เมื่อสอนเสร็จอาจารย์ ก็ให้คิด ว่าจะประดิษเ์ล่นอะไรที่สร้างสรรค์
 เพื่อนทุกคนก็เสนอของตัวเอง ส่วนของฉันประดิษฐ์ เตาปิ้งพกพา


ปรเมินผล 

ประเมิน  ตัวเอง : ตั้งใจเรียน และ ตั้งใจตอบคำถามของอาจารย์

ประเมิน เพื่อน : เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียน และเพื่อนในกลุ่มก็น่ารัก ช่วยฉันคิดของเล่นสร้างสรรค์

ประเมิน อาจารย์ : อาจารย์ สอนเข้าใจง่ายคะ มีบูรณาการเสริมวิชาอื่นๆด้วย และแนะนำสิ่งต่างๆ










บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 9 



วันปิยมหาราช 23 ตุลาคม

วันปิยมหาราช ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม 2559 ภาษาอังกฤษคือ Chulalongkorn Day เป็นวันสำคัญ และวันหยุดราชการวันหนึ่งของไทย รวมประวัติ ความเป็นมา ของวันปิยมหาราช
เป็นวันสวรรคต ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งมีพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ต่อประเทศไทยหลายด้าน และสิ่งที่โดดเด่นคือ การประกาศเลิกทาสพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบรมรูปทรงม้า ประดิษฐานไว้ ณ พระลานหน้าพระราชวังดุสิต และ ในวันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี หน่วยงานต่างๆ จะมาวางพวงมาลาดอกไม้สักการะ และถวายบังคมที่พระบรมรูปทรงม้า พร้อมด้วยการจัดนิทรรศการเผยแพร่พระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจ เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ในวันปิยมหาราชของทุกๆปี
** ไม่มีการเรียนการสอน**

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 8


               วันนี้ไม่ได้มาเรียนคะ

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 7

สอน โดย อาจารย์จินตนา

- วันนี้เรียนกับ อาจารย์จ๋า คะ เข้ามา อาจารย์ ก็พูดเนื้อหา สาระต่างๆ ก่อนจะทำกิจกรรม
                 มีกิจกรรมดังนี้ (เวียนเป็นฐาน)
                 1.เป่าสี 
                2.ปั้มสีจากมือ
                3.ประดิษฐ์การ์ตูนจากจานกระดาษ

ดังรูป 








ประเมินผล 

ประเมิน ตัวเอง : ตั้งใจฟังอาจารย์สอน และ ทำกิจกรรมด้วยความสนุก 

ประเมิน เพื่อน : เพื่อนตั้งใจเรียน และให้ความร่วมมือดีในการตอบคำถามครู

ประเมิน อาจารย์ : อาจารย์สอนดีคะ มีรูปแบบมีอุปกรณ์การสอบแบบใหม่ๆ









บันทึกการเรียน ครั้งที่ 6

- สัปดาห์นี้ก็ยังเรียนเรื่อง STEM & STEAM แต่เป็นหน่วย ปลา

- กิจกรรมที่ทำ ก็จะเวียนกัน ให้ครบทุกกลุ่ม กลุ่มละ 1 กิจกรรม ดังนี้เลยคะ
  กลุ่มที่ 1 .กิจกรรมสร้างบ้าน 
  กลุ่มที่ 2.กิจกรรมมงกุฏดอกไม้
  กลุ่มที่ 3.กิจกรรมหุ่นนิ้วมือ
  กลุ่มที่ 4.กิจกรรมโมเดลผลไม้
  กลุ่มที่ 5,กิจกรรมประดิษฐ์ปลา ด้วยจานกระดาษ (กลุ่มฉัน)
  กลุ่มที่ 6,กิจกรรม ตุ๊กตาล้มลุกจากไข่ไก่
**กิจกรรมทั้งหมด ได้มาจาก ใบงานที่ อาจารย์ให้ทำในสัปดาห์ที่แล้ว ก่อนสอบ **




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน 
1.สามารถบูณการเข้ากับวิชาอื่นได้
2,นำไปปรับใช้เป็นการสอนในแบบของเราได้ เด็กจะได้ไม่เบื่อ

ประเมินผล
ประเมิน ตัวเอง : ตั้งใจเรียน ทำกิจกรรมด้วย

ประเมิน เพื่อน : เพื่อนทุกคนก็ตั้งใจเรียน และร่วมทำกิจกรรมด้วยกันอย่างสนุก ช่วยกันคิด และออกแบบ

ประเมิน อาจารย์ : ในรอบนี้ อาจารย์ไม่ค่อยสอน แต่ค่อยให้ความช่วยเหลืออยู่ใกล้ และค่อยแนะนำให้ดีขึ้น




บันทึกการเรียน ครั้งที่ 5 

สัปดาห์ ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากสอบกลางภาค


บันทึกการเรียน ครั้งที่ 4



วันนี้ไม่มีการเรียนคะ แต่อาจารย์สั่งงาน 









บันทึกการเรียน ครั้งที่ 3 

- เข้ามา อาจารย์ พูดคุยทักทาย 
- เมื่อเพื่อนมาครบแล้ว เริ่มเรียน แต่ก่อนเรียน อาจารย์ให้ร้องเพลง ผีเสื้อ
- วันนี้ อาจารย์สอนเรื่อง STEM / STEAM Education

STEM” คืออะไร (ชลาธิป สมาหิโต: 2557) 
  • เป็นการจัดการศึกษาแบบบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ 
  • นำลักษณะทางธรรมชาติของแต่ละสาระวิชามาผสมผสานและจัดเป็นการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
  • เน้นการนำความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการผลิตใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการทำงาน
STEM Education (สะเต็มศึกษา)
  • Science
  • Technology
  • Engineering
  • Mathematics
Science (วิทยาศาสตร์)
  • การเรียนรู้เรื่องราวของธรรมชาติ 
  • เช่น ปรากฏการณ์ต่าง ๆ โดยผ่านกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ ซึ่งวิทยาศาสตร์นั้นมีเป้าหมายหลักเพื่อใช้อธิบายกฎเกณฑ์หรือ ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ตามธรรมชาติโดยใช้หลักและระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์
Technology (เทคโนโลยี) 
  • วิทยาการที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม (ราชบัณฑิตยสถาน: 2557, 580)
  • สิ่งที่เราสร้างหรือพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้อำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิต 
  • ไม่ใช่มีความหมายเพียงแค่คอมพิวเตอร์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น แต่หมายรวมไปถึงสิ่งประดิษฐ์ตามยุคสมัยต่าง ๆ อย่างเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือรวมไปถึงเครื่องใช้ทั่วไปอย่าง ยางลบ, มีด, กรรไกร, กบเหลาดินสอ เป็นต้น
Engineering (วิศวกรรมศาสตร์)
  • ทักษะกระบวนการในการออกแบบ สร้างแบบ รวมไปถึงการวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหา โดยการใช้องค์ความรู้ด้านต่าง ๆ มาสร้างสรรค์ออกแบบผลงานที่ใช้งานได้จริง 
  • กระบวนการในการทำงานของวิศวกรรมศาสตร์นั้น สามารถนำมาบูรณาการกับหลักแนวคิดของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ได้ (ยศวีร์ สายฟ้า: 2557, 1) 
  • ช่วยส่งเสริมทำให้เกิดการพัฒนาทางความคิดออกแบบสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น
Mathematic (คณิตศาสตร์)
  • วิชาที่ว่าด้วยเรื่องของการคำนวณ (ราชบัณฑิตยสถาน:2557, 225) 
  • เป็นการเรียนรู้ในเรื่องราวของจำนวน ตัวเลข รูปแบบ ปริมาตร รูปทรงต่างๆ รวมไปถึงแบบรูปและความสัมพันธ์ (พีชคณิต) ฯลฯ 
  • ทักษะทางคณิตศาสตร์นี้เป็นทักษะที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกแขนงวิชา เพราะเป็นศาสตร์ที่สามารถพิสูจน์ได้ มีความแม่นยำ 
  • เรายังสามารถพบคณิตศาสตร์ได้ในชีวิตประจำวันของเราแทบจะทุกที่ ทุกเวลาอีกด้วย 
“STEM” กับการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย
  • “STEM” แทรกเข้าไปในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหน่วยที่ครูจัดขึ้น หรือเลือกตามหน่วยที่เด็กสนใจได้อย่างหลากหลาย จะทำให้เด็กสนุกกับการเรียนในห้องมากขึ้น 
  • การศึกษาแบบ “STEM” เป็นการศึกษาที่ช่วยทำให้เด็กอยากเรียนรู้ด้วยตนเอง เปลี่ยนการเรียนแบบท่องจำมาเป็นการเรียนรู้แบบลงมือทำ ปฏิบัติจริง ทดลอง สืบค้น และใช้วัสดุอุปกรณ์ 
  • ทำให้เด็กได้ใช้ความสามารถของตนเองอย่างเต็มที่ ได้รับความสนุกสนาน และมีความสนใจในวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ มากยิ่งขึ้น 
STEAM Education
  • การนำ “STEM” มาบูรณาการกับทักษะทางศิลปะ “Art” 
  • เพื่อจะทำให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และมีจินตนาการในการออกแบบชิ้นงานนั้น ๆ ให้มีความสวยงามมากยิ่งขึ้น
STEAM Education (สะตีมศึกษา)
  • Science
  • Technology
  • Engineering
  • Art
  • Mathematics

เมื่อเรียน หลักการเสร็จ เราก็มาทำกิจกรรมด้วยกัน  (จับกลุ่ม 5-6 คน)
 กิจกรรมที่1. ประดิษฐ์ผีเสื้อ จากจานกระดาษ
                 2,สร้างกรงผีเสื้อ
                 3.แต่งนิทาน ผีเสื้อ
                 4.ปั้นดินน้ำมัน ผีเสื้อ จากโปรแกรม ฟิสบุค

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน



1,เมื่อเรารู้หลักการและวิธีของ สเต็มแล้ว เราก็จะบูรณาการเข้ากับเรื่องอื่นได้ โดยไม่ใช่ สอนเรื่องผีเสื้อได้แค่เรื่องเดียว
2.นอกจากจะได้เนื้อหาแล้ว เรายังสามารถสอดแทรกภาษาอังกฤษได้อีก

ประเมินผล

ประเมิน ตัวเอง : ตั้งใจเรียน ตั้งใจทำกิจกรรม

ประเมิน เพื่อน : เพื่อนตั้งใจทุกคน 

ประเมิน อาจารย์ : อาจารย์สอนง่าย เข้าใจ่าย และยกตัวอย่างเข้าใจง่าย 






บันทึกการเรียน ครั้งที่ 2 


- วันนี้เป็นสัปดาห์ที่ 2 เข้าห้องมา อาจารย์ก็ทักทาย พูดคุยกันก่อนเรียนคะ
- อาจารย์เปิดคลิปล้อเลียนการบริการบนรถเมล์ให้ดู
- เริ่มมีภาพประกอบ และบบรรยาย ให้เราคิดตาม
- และต่อมา อาจารย์ก็เริ่มเข้าสู้โหมดการเรียน การสอน วันนี้ อาจารย์สอนเรื่อง  Marshmallow Tower
โดยให้จับกลุ่ม 5 - 6 คน โดยอาจารย์แจกอุปกรณ์ เช่น ไม่จิ้มฟัน ดินน้ำมัน กระดาษA4 วิธีการเล่น แบ่งเป็น 3 รอบ 
รอบที่ 1 เพื่อนทุกคนช่วยกันต่อ ให้สูงที่สุด โดยไม่พูดกัน
รอบที่ 2 ให้เพื่อนใน1คนพูดได้ ค่อยสั่ง ว่าต่ออย่างไรถึงจะสูงกว่าเดิม
รอบที่ 3 ทุกคนพูดได้ และต้องต่อให้สูงกว่ารอบที่ 1 - 2 
** ดินน้ำมันจะเป็นตัวเชื่อมทำให้ไม้จิ้มฟันติดกัน**
 


กิจกรรมที่ 1
 ดังรูป




กิจกรรมที่ 2 

- พับเรือ โดยมีอุปกรณ์ 2 อย่าง คือ กระดาษ กับ หลอด พับอย่างไรก็ได้ไม่ให้จม
- การทดลอง ทดลองในกะละมัง และเรือลำไหร บรรทุกซอสได้เยอะกว่า จะชนะ


กิจกรรที่ 3 

- ออกแบบชุดรีไซร์เคิ้ลน ให้มีสวยงาม ทนทาน แต่มีองค์ประกอบครบตามกำหนด

ดังรูป




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนยการสอน

1.สามารถนำกิจกรรมไปสอนในวิชาวิทยาศาสตร์ได้
2.กิจกรรมที่ 1 สามารถนำไปเล่นในมุมประสบการได้

ประเมินผล

ประเมิน ตัวเอง : ตั้งใจทำกิจกรรม สนุก แต่ไม่ค่อยแสดงความคิดเห็น

ประเมิน เพื่อน : เพื่อนทุกคนตั้งใจฟังอาจารย์ และสนุกสนานทุกคนที่ได้เรียนและทำกิจจกรรม

ประเมิน อาจารย์ : อาจารย์ สอนดี และ อธิบายเข้าใจ มีกิจกรรมใหม่ๆมาสอนอยู่เสมอ